รู้ละอวิชชา ๓

๑ รูอวิชชา ๒ เวทนาอวิชชา ๓ สัญญาอวิชชา

บันทึกธรรมเมื่อ วันศุกร์ที่ ๔ กรกฎาคม  ๒๕๒๓ เวลา ๑๕.๒๓
ณ วัดพระธาตุเขาน้อย กิ่งอำเภอสวนผึ้ง ต.บ้านคา จ.ราชบุรี

 

               

                เกิดวิตก วิจารในจิตว่า อะไรหนอ? คือ ตัวอวิชชา  ที่ปฏิจจสมุปบาท กล่าวว่าเป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร วิญญาณ นามรูป ฯลฯ

                เมื่อได้พิจารณาขันธ์ ในขันธ์ ๕ แต่ละกองๆ ก็เห็นเด่นชัด ปรากฏชัดที่ใจ เห็นรูปเป็นตัวอวิชชาเพราะไม่รู้ซึ้งถึงรูปอันไม่งาม ไม่สะอาด จึงหลงรูป ติดใจในรูป บ่นเพ้อรำพันถึงรูป ต้องการรูปเป็นปัจจัย จึงขวนขวายดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งรูปอันตนปรารถนาต้องการ เพราะความที่รูปเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ทั้งปัจจุบันและอนาคตที่อดีตส่งมา เป็นอวิชชา ความไม่รู้จึงหลงติดอยู่ในวัฏฏะสงสาร

 

                เวทนาความเสวยอารมณ์ไม่คงที่หนักแน่นในกามารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ อันตนชอบว่าเป็นสุข จึงขยันแสวงหากันอย่างเต็มที่สุดกำลังกาย สุดกำลังสติปัญญา ปรารถนารสชาดในกามารมณ์ ทั้งที่รู้ว่ากามารมณ์เป็นของไม่ยั่งยืน แต่ก็ยังฝืนต้องการเสพสุขเวทนา ทั้งๆที่เป็นทุกข์ในขณะเสพ หรือเสพแล้วสุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัสเวทนาในขณะนั้นมีพร้อม แต่ทุกคนไม่ปรารถนาที่จะรู้ ติดใจเพียงรสชาติอันหนึ่งเท่านั้น จึงเป็นอวิชชา ความไม่รู้ถึงเวทนาเหล่านี้  รู้แล้วทำไมไม่ละ เพราะไม่รู้จริงจึงละไม่ได้ เพราะสัญญาจำรสชาติอันนั้นไว้เผารนจิตใจ เกิดทุกขเวทนาต้องการจึงล่วงพ้นจากวัฏฏะสงสารไม่ได้ เพราะไม่มีรสชาดของพระธรรมวินัยแก้ไขจิตใจ  จนไม่มีรสชาดแห่งความสงบเข้ามาแทนที่อยู่เป็นปกติ จนรสชาดของกามารมณ์อันหนึ่งขาดหายไปจากจิตใจ เพราะเป็นตัวก่อภพชาติ  เพราะฉะนั้นเวทนาตัวนี้จึงเป็นปัจจัยให้เกิดกามารมณ์ คือตัณหา จึงจัดเวทนาตัวนี้เป็นอวิชชา เพราะไม่มีใครปรารถนาจะรู้จึงไม่มีกาละ จึงเป็นสมุทัยเกิดทุกข์ไม่รู้จักแล้ว

 

                สัญญา ความจำได้หมายรู้สารพัดที่จำไว้ เป็นตัวกดถ่วงจิตใจให้เลิกละอุปาทาน ความยึดถือไม่ได้ ปล่อยวางไม่ได้ ดับไม่ได้ สำรอกคลายกิเลสไม่ได้ เพราะมีการกระทบที่ต้องจำอยู่เสมอ เพราะสัญญาตัวนี้เป็นรากเหง้าเค้ามูลให้เกิดกุศล อกุศล เป็นตัวเหตุให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ วางจิตเป็นกลาง เป็นอุเบกขาไม่ได้ ก็เพราะสัญญาตัวนี้ ใครที่ไม่ได้พิจารณาเห็นสัญญา รู้สัญญาว่าเป็นตัวอวิชชา เหตุเกิดของอุปาทาน ความยึดถือก็ยากที่จะสำรอกกิเลสตัณหาให้หมดได้ ปล่อยกิเลสตัณหาให้หมดได้ ดับกิเลสตัณหาให้หมด เพราะยังมีสัญญาอาลัยกิเลสตัณหาอยู่ จึงข้ามภพชาติวัฏฏะสงสารไม่ได้


                เพราะรูป เวทนา สัญญา ๓ นี้ เป็นอวิชชาปัจจัยให้เกิดเหตุเป็นสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ  ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โทสะ ปริเทวทุกข์ โทมนัส อุปายาส


                เพราะชาติ ความเกิดแห่งรูปอาศัยวิญญาณครองความรู้สึกตัวตน จึงต้องมีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศกรำพันถึง  เพราะนามรูปนี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทั้งรูป ทั้งนาม ถ้าไม่มีรูป ไม่มีนาม ไม่มีวิญญาณ ความรู้สึกผัสสะ คือ การกระทบกาย กระทบจิตไม่มี เมื่อการกระทบสัมผัสไม่มี เวทนาความเสวยอารมณ์ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขาก็ไม่มี เมื่อเวทนา สุข ทุกข์  เหล่านี้ไม่มีแล้ว ตัณหาความทะยานอยากในกามทั้งหลายอันทำสุขทุกข์ก็ไม่มี เมื่อไม่มีตัณหาความอยากเสียแล้ว อุปาทานความยึดถือจะมีประโยชน์อะไร เมื่ออุปาทานความยึดถือไม่มีแล้ว  ภพ คือ ที่อยู่อาศัยของกายของจิตก็ไม่มีที่ตั้ง คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เมื่อภพทั้ง ๓ ไม่มีชาติ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความโศก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญบ่นเพ้อว่าเป็นทุกข์ๆ ก็ไม่มี  เมื่อชาติ ความเกิดเป็นต้นเค้าไม่มี กุศล อกุศล อันเป็นตัวกรรมนำปฏิสนธิก็ดับไม่มี เมื่อกรรมบทกุศล  กรรมบทอกุศลไม่มี สังขาร ความปรุงแต่ง กรรมวิญญาณ ความรู้สึกว่าเป็นกรรมก็ไม่มี เมื่อสังขารกรรม วิญญาณกรรมไม่มี นามรูปที่ต้องรับผลกรรมดี กรรมชั่วก็ไม่มี ก็ดับลง ระงับลง ความหลุดพ้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแห่งพรหมจรรย์ก็สิ้นสุดลงแต่เพียงนี้  ท่านจึงว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว กิจที่ต้องทำกรรมอย่างนี้ไม่มีอีก ชาติสิ้นแล้ว ภพสิ้นแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เอวํ

 

                สัญญา ความจำได้หมายรู้สารพัดที่จำไว้ เป็นตัวกดถ่วงจิตใจให้เลิกละอุปาทาน ความยึดถือไม่ได้ ปล่อยวางไม่ได้ ดับไม่ได้ สำรอกคลายกิเลสไม่ได้ เพราะมีการกระทบที่ต้องจำอยู่เสมอ เพราะสัญญาตัวนี้เป็นรากเหง้าเค้ามูลให้เกิดกุศล อกุศล เป็นตัวเหตุให้เกิดอุปาทาน ความยึดถือ วางจิตเป็นกลาง เป็นอุเบกขาไม่ได้ ก็เพราะสัญญาตัวนี้ ใครที่ไม่ได้พิจารณาเห็นสัญญา รู้สัญญาว่าเป็นตัวอวิชชา เหตุเกิดของอุปาทาน ความยึดถือก็ยากที่จะสำรอกกิเลสตัณหาให้หมดได้ ปล่อยกิเลสตัณหาให้หมดได้ ดับกิเลสตัณหาให้หมด เพราะยังมีสัญญาอาลัยกิเลสตัณหาอยู่ จึงข้ามภพชาติวัฏฏะสงสารไม่ได้

 

                เพราะรูป เวทนา สัญญา ๓ นี้ เป็นอวิชชาปัจจัยให้เกิดเหตุเป็นสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ สฬายตนะเป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะ  ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชาติ ชาติเป็นปัจจัยให้เกิดชรา มรณะ โทสะ ปริเทวทุกข์ โทมนัส อุปายาส

                เพราะชาติ ความเกิดแห่งรูปอาศัยวิญญาณครองความรู้สึกตัวตน จึงต้องมีความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศกรำพันถึง  เพราะนามรูปนี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทั้งรูป ทั้งนาม ถ้าไม่มีรูป ไม่มีนาม ไม่มีวิญญาณ ความรู้สึกผัสสะ คือ การกระทบกาย กระทบจิตไม่มี เมื่อการกระทบสัมผัสไม่มี เวทนาความเสวยอารมณ์ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ โสมนัส โทมนัส อุเบกขาก็ไม่มี เมื่อเวทนา สุข ทุกข์  เหล่านี้ไม่มีแล้ว ตัณหาความทะยานอยากในกามทั้งหลายอันทำสุขทุกข์ก็ไม่มี เมื่อไม่มีตัณหาความอยากเสียแล้ว อุปาทานความยึดถือจะมีประโยชน์อะไร เมื่ออุปาทานความยึดถือไม่มีแล้ว  ภพ คือ ที่อยู่อาศัยของกายของจิตก็ไม่มีที่ตั้ง คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เมื่อภพทั้ง ๓ ไม่มีชาติ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความโศก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญบ่นเพ้อว่าเป็นทุกข์ๆ ก็ไม่มี  เมื่อชาติ ความเกิดเป็นต้นเค้าไม่มี กุศล อกุศล อันเป็นตัวกรรมนำปฏิสนธิก็ดับไม่มี เมื่อกรรมบทกุศล  กรรมบทอกุศลไม่มี สังขาร ความปรุงแต่ง กรรมวิญญาณ ความรู้สึกว่าเป็นกรรมก็ไม่มี เมื่อสังขารกรรม วิญญาณกรรมไม่มี นามรูปที่ต้องรับผลกรรมดี กรรมชั่วก็ไม่มี ก็ดับลง ระงับลง ความหลุดพ้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแห่งพรหมจรรย์ก็สิ้นสุดลงแต่เพียงนี้  ท่านจึงว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว กิจที่ต้องทำกรรมอย่างนี้ไม่มีอีก ชาติสิ้นแล้ว ภพสิ้นแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เอวํ

Share